วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ไทรเซราทอปส์

ไทรเซราทอปส์ (Triceratops)




   ชื่อทางวิทยาศาสตร์  :  Triceratops (ไทรเซราทอปส์)
        วงศ์                          :  Ceratopsians    
        ยุคสมัย                    :  ปลายยุคครีเทเชียสราว 68-65 ล้านปี
        ประเภท                    :  กินพืช








   ไทรเซราทอปส์ ( triceratops) เป็นไดโนเสาร์ ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียสราว 68-65 ล้านปี มันเป็น1ในชนิดไดโนเสาร์สุดท้าย ไทรเซราทอปส์เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หนักราว 6-8 ตัน และยาวได้กว่า6-10เมตร 





   โดยทั่วไปแล้วไทรเซราทอปส์จะกินเฟริน สนซึ่งเป็นพืชเนื้อหยาบมันมีจะงอยปากคล้ายนกแก้วไว้ตัดพืช และมันจะกลืนหินไปในกระเพาะเพื่อบดอาหารหินนี้เรียกว่า แกสโตริท ไทรเซราทอปส์มีวิถีชีวิตคล้ายแรดอยู่รวมเป็นฝูงเล็มอาหารเมื่อถูกคุกคามจากนักล่า เช่น ไทรันโนซอรัส จะหันหน้าเป็นวงกลมให้ตัวอ่อนแอและเด็กอยู่ในวงล้อม หากศัตรูเข้ามาทางใดจะพุ่งชนด้วยแรงชนกว่า 6 ตัน 




        ไทรเซราทอปส์มีเขา3เขาอยู่บนหัวเขาแรกยาว 20 เซนติเมตรอยู่เหนือจมูก ส่วน2เขาหลังอยู่ที่ตายาวราว 1 เมตรแทงเพียงครั้งเดียวอาจถึงตาย บางตัวเขาอาจยาวกว่า 2 เมตร แต่ด้วยพละกำลังและขนาดเป็น 2 เท่าของช้างนักล่าส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยโจมตีมัน แต่มันมีจุดอ่อนที่แผงคอทำให้มันมองหลังไม่ดีแต่หากโจมตีข้างหน้าสถานการจะกลับกัน ไทรเซราทอปส์กินค่อนข้างมากเฉลี่ยถึง 500 กิโลกรัม มันมีชื่อเสียงพอๆ กับที-เร็กซ์และมักเห็นภาพมันเข้าปะทะกับที-เร็กซ์ทำให้เจ้า 3 เขาตัวนี้ได้คำขนานนามว่า คู่ปรับแห่งราชาไดโนเสาร์ นอกจากนี้มันยังเป็นพระเอกในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องไดโนคิง (DINOSAUR KING) อีกด้วย ไทรเซราทอปส์มีชื่อเต็มว่า ไทรเอราทอปส์ ฮอริดัส 

เทอราโนดอน

เทอราโนดอน (Pteranodon)

               ชื่อทางวิทยาศาตร์   :  Pteranodon (เทอราโนดอน)
          วงศ์                          :  เทอร์โรซอ
          ยุคสมัย                     :  ปรายยุคครีเตเชียส
          ประเภท                    :   กินเนื้อ


ลักษณะทั่วไป: ในบรรดาเทอโรซอร์ เทอราโนดอนนับว่ามีชื่อเสียงมากที่สุด ส่วนใหญ่มันจะอาศัยอยู่บริเวณหน้าผาริมฝั่งทะเลและจับปลากินเป็นอาหาร แต่บางครั้งก็บินไกลออกไปในทะเลเพื่อหาปลาบ้างเช่นกัน ใต้คางของมันมีถุงใช้สำหรับเก็บปลา มันจับินเรี่ยเหนือน้ำ ใช้สายตาอันเฉียบแหลม เมื่อเห็นปลาก็จับกินด้วยงอยปากยาว เทอโรดอนไม่มีฟัน แต่มีขากรรไกรที่แข็งแรง ทำให้มันกินปลาได้ง่ายด้านหลังหัวของมันมีหงอนแหบม ตุวผู้มีหงอนใหญ่กว่าตัวเมีย หงอนนี้ช่วยในการรักษาสมดุลของร่างกายและจับทิศทางเวลาที่มันโผบินไปมาบนท้องฟ้า


  เทอราโนดอน ไม่ใช่นกยักษ์ แต่เป็นสัตว์เลื้อยคลายบินได้ที่ได้รับความนิยม และเป็นที่รู้จักสูงสุดในหมู่เด็กๆ หรือผู้ที่ชื่นชอบไดโนเสาร์ในฐานะของจ้าวเวหาแห่งยุคครีเทเชียส เทอราโนดอน แม้จะไม่ได้มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มแต่ก็ใหญ่กว่า 7 เมตรเมื่อกางปีกแล้ว ลักษณะเด่นของมันคือ หงอนยาวยื่นออกไปด้านหลังของศีรษะ ทำให้เมื่อนึกถึงไดโนเสาร์ก็มักจะมีภาพจำของเทอราโนดอนขึ้นมาทุกครั้ง




วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สไปโนซอรัส

สไปโนซอรัส (Spinosaurus)


 ชื่อทางวิทยาศาสตร์   :    Spinosaurus (สไปโนซอรัส)

 วงค์                             :    Siriporn Youngsawad 
 ยุคสมัย                  :     ตอนกลางของยุคครีเตเชียส (100-97 ล้านปี)
 ประเภท                 :     กินเนื้อ
            




       สไปโนซอรัสมีความหมายว่าสัตว์เลื้อยคลานมีแผง ถูกค้นพบครั้งแรกในทะเลทรายสะฮาร่าของอียิปต์ เมื่อปี ค.ศ. 1910 โดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวบาวาเรีย นาม เอิร์ล สโตรเมอร์ โดยขุดค้นไปตามชายขอบด้านตะวันออกของระบบแม่น้ำโบราณซึ่งมีหินในชั้นแคมเบรียนก่อตัวเป็นพรมแดนด้านตะวันตก  สไปโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อที่เดิน 4 ขาเป็นหลัก ส่วนอาหารนั้นส่วนมากจะเป็นปลา   
     



ลักษณะทั้่วไป
      
    สไปโนซอรัสนั้นมีจุดเด่น คือกระดูกสันหลังสูงเป็นแผ่นคล้ายใบเรือ รูปวงรี มี11ชิ้น ชิ้นที่ยาวที่สุดมีความยาว 1.69 เมตร เชื่อกันว่าใช้ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากถูกค้นพบฟอสซิลในอียิปต์จึงได้สันนิษฐานเช่นนั้น กะโหลกศรีษระมีจะงอยปากแคบที่เต็มไปด้วยฟันรูปกรวย มีหงอนคู่ขนาดเล็กอยู่เหนือดวงตา แขนแข็งแกร่งมี 3นิ้ว สามารถใช้เป็นอาวุธและจับเหยื่อได้ มีความสูง 3 เมตรถ้าเดิน 4 ขา ถ้ายืน 2 ขาจะสูง 3.9-4เมตร มีความยาว 15-18 เมตร โดยฟอสซิลที่สมบูรณ์ที่สุดยาวมีความยาว 15เมตร (ส่วนกะโหลก ยาว 1.75 ม.) น้ำหนัก 23ตัน อาศัยอยู่ใน ทวีปแอฟริกา มีชีวิตอยู่ในตอนกลางของยุคครีเตเชียส (100-97 ล้านปีที่แล้ว)





                                                คาร์ชาโรดอนโทซอรัส คู่แข่ง สไปโนซิรัส





     ในช่วงที่มันอาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลาง มันมีคู่แข่งที่สำคัญอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส ที่อาศัยอยู่ยุคเดียวกันที่มีความยาว 13.8 เมตรและเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก สไปโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ1ในโลก , มันมีญาติอย่าง  ซูโคไมมัส บารีออนนิกซ์ หลังจากมีการค้นพบขาหลังของสไปโนซอรัสในปี 2014 ก็พบว่าขาหลังของสไปโนซอรัสนั้นสั้นมาก จนไม่มีทางที่จะยืน2ขาได้เหมือนในภาพยนตร์ จูราสสิคปาร์ค 3 ได้ และยังมีการพบว่าเท้าานั้นเป็นผังผืดเหมือนตีนเป็ด ซึ่งไม่เหมาะที่จะวิ่งไล่จับเหยือบนบกได้ ดังนั้นจึงคาดว่าน่าจะมีไว้ใช้ในการว่ายน้ำมากกว่า



กระโดงบนหลังของสไปโนซอรัส เมื่อก่อนนักวิทยาศาสตร์ได้สันนิฐานว่า น่าจะใช้ในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย และใช้ในการทรงตัว จึงทำให้มันเป็นสัตว์ที่ตื่นตัวมาก แต่ในปี 2014 นิซาร์ ฮิบรารัม และนักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษากระโดงอย่างละเอียดแล้วว่า กระโดงนั้นมีปริมาณเส้นเลือดน้อยมากจึงไม่สามารถใช้ในการปรับอุณหภูมิ จึงได้สันนิฐานใหม่ว่า กระโดงน่าจะใช้ในการดึงดูดเพศตรงข้ามหรือไม่ก็ใช้ในการข่มขวัญพวกเดียวกันเองหรือนักล่านักล่าที่มีขนาดเล็ก แต่ไม่ใช่กับคาร์ชาโรดอนโทซอรัสที่โตเต็มที่ และได้มีการย้ายชิ้นส่วนกระโดงที่ยาวสุดไปไว้ช่วงท้าย เพื่อเป็นประโยชน์ในการว่ายน้ำด้วย