วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

แองคิโรซอรัส

แองคิโลซอรัส
ชื่อวิทยาศาสตร์   Ankylosaurus (แองคิโลซอรัส)
วงค์                     : Ankylosauridae
ยุค                      ครีเตเชียส
ประเภท               : กินพืช





แองคิโลซอรัส ( Ankylosaurus) เป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสกุล แองคิโลซอรัส ( ankylosaurid) อาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียส ในทวีปอเมริกาเหนือ โครงกระดูกของ แองคิโลซอรัส ยังไม่สมบูรณ์ แองคิโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะในแบบสกุล แองคิดรซอร์ที่มีน้ำหนักตัวหนักมีเกราะแข็งหุ้มทั่วทั้งตัว และมีลูกตุ้มขนาดใหญ่(ลักษณะคล้ายกับรังผึ้ง)สำหรับไว้ป้องกันตัวจากนักล่าในยุคนั้นอย่าง ไทรันโนซอรัส และ ทาร์โบซอรัส ที่บริเวณหาง
ลูกตุ้มขนาดใหญ่ของ 





    แองคิโลซอรัส เป็นส่วนกระดูกที่ยื่นออกมาจากหาง โดยมีกระดูกสันหลังส่วนบริเวณหางข้อที่เจ็ดรองรับน้ำหนักทั้งหมด มีเส้นเอ็นหนาติดกับกระดูกสันหลังส่วนหาง เส้นเอ็นเหล่านี้คล้ายกับกระดูกและไม่ยืดหยุ่นมากให้กำลังได้ดีที่จะส่งไปถึงปลายหาง จากการศึกษาพบว่าลูกบิดหางขนาดใหญ่ ของมันส่งผมกระทบร้ายแรงต่อกระดูกของไดโนเสาร์กินเนื้อที่จู่โจมมันอย่างนักล่าขนาดใหญ่เช่น ไทรันโนซอรัส ให้กระดูกหักได้ แต่ยังไม่ทราบว่าหางที่ใช้ในการป้องกัน ต่อสู้ หรือการเกี้ยวพาราศรี ตัวเมีย แต่ความคิดอย่างหลังไม่เป็นที่น่าเชื่อสักเท่าไหร่




วันพุธที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560

อีกัวโนดอน

อีกัวโนดอนIguanodon)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Iguanodon(อิกัวโนดอน)
วงค์                          Seranoda
ยุค                           ครีเตเชียสและจูราสสิค
ประเภท                    กินพีช

อิกัวโนดอน ( Iguanodon) เป็นสิ่งมีชีวิตสกุลหนึ่งในกลุ่มของไดโนเสาร์กินพีช  มีขาหลังใหญ่และแข็งแรง ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปลายยุคจูราสสิคและต้นยุคครีเตเชียส (ประมาณ 135 ถึง 110 ล้านปีมาแล้ว) ในพื้นที่กว้างใหญ่ตั้งแต่ทวีแยุโรป ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟฟาริกา และเอเชียตะวันออก


กิเดียน แมนเทล แพทย์และนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ค้นพบอิกัวโนดอนเมื่อ พ.ศ 2365 (ค.ศ. 1822) นับเป็นไดโนเสาร์ชนิดแรก ๆ ที่พบ และมีรายงานทางวิทยาศาสตร์เผยแพร่ในสามปีต่อมา ที่ตั้งชื่อว่าอิกัวโนดอนเพราะฟันของมันคล้ายกับฟันของอิกัวน่า และเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงว่าไดโนเสาร์พัฒนามาจากสัตว์เลื้อยคลาน

อิกัวโนดอนเป็นสิ่งมีชีวิตสกุลที่มีขนาดใหญ่และพบกระจัดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างมากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตวงศ์เดียวกัน ลำตัวของมันยาวกว่า 10 เมตร เมื่อยืดตัวขึ้นจะมีความสูง 5 เมตร หนัก 4-5 ตัน สันนิษฐานว่าอิกัวโนดอนเคลื่อนที่โดยใช้ขาทั้ง 4 ขา แต่ก็อาจเดินได้โดยใช้เพียงสองขา มือที่ขาหน้าของอิกัวโนดอนมี 5 นิ้ว หัวแม่มือแข็งแรงและชี้ขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือ ซากดึกดำบรรพ์และรอยเท้าที่พบทำให้เชื่อว่าอิกัวโนดอนมักอยู่กันเป็นฝูง




สเตโกซอรัส


สเตโกซอรัส (Stegosaurus)

ชื่่อทางวิทยาศาสตร์   : Stegosaurus (สเตโกซอรัส)
วงศ์                          :  Stegosauridae
ยุค                            :  ปลายยุคจูราสสิค
ประเภท                     : กินพืช




สเตโกซอรัส (Stegosaurus) สเตโกซอรัส (กิ้งก่ามีหลังคา) เป็นไดโนเสาร์ กินพืชจำพวกสะโพกนก (Ornithischia) ที่มีเกราะป้องกันตัวจำพวกแรกๆ
สเตโก หมายถึงแผงหนามแบนๆเหมือนใบไม้ที่อยู่บนแนวกระดูกสันหลังของมัน เนื่องจากแผงหนามที่โผล่ออกมาสองแถวนี้เอง มันจึงได้ชื่อว่า สเตโกซอรัส แถวแผงหนามนี้มีอยู่ตลอดหลังตั้งแต่หัวจรดหาง สูง 60-80 เซนติเมตร สามารถกางและหุบได้ด้วยกล้ามเนื้อที่อยู่ตรงแนวกระดูกปลายหางของมันยังมีหนามแหลมเหมือนหอกติดอยู่อีกดเวย เมื่อไดโนเสาร์กินเนื้อเข้ามาใกล้ มันจะแกว่งหางไปรอบๆเพื่อป้องกันตัว สเตโกซอรัสเดินสี่ขา ภายในปากด้านหน้าไม่มีฟัน มันจึงเลือกกินเฉพาะยอดใบไม้อ่อนนิ่ม ถ้าเทียบกับขนาดตัวแล้ว มันเคลื่อนไหวค่อนข้างเชื่องข้า สมองก็ค่อนข้างเล็ก จึงคาดว่ามันอาจไม่ฉลาด



มีลักษณะโดดเด่น มีขาหน้าสั้น และปากเล็ก มีแผ่นเกล็ดเรียงบนหลังยาวไปจนถึงปลายหางแผ่นเกล็ดนี้มีไว้ขู่ศัตรูโดดสูบฉีดเลืดไปที่เกล็ด ซึ่งสันนิษฐานว่ามันมีเส้นเลือดเป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ และแผ่นกระดูกนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับป้องกันตัว แต่มีไว้เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้มันยังหนามแหลมที่ปลายหาง ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจากไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคนั้นได้ดี อย่าง อัลโลซอรัส




รูปร่างดูน่ากลัวแต่สมองมันเล็กกว่าถั่วเขียวและหนักไม่ถึง 70 กรัม ลำตัวยาว 9 เมตรหนัก 2-3 ตันอาศัยอยู่ยุคจูแรสซิก 170-130 ล้านปี